วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2551

คุณประโยชน์ของกระเทียม


กระเทียม ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์

ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum Linn.
ชื่อวงศ์ Alliaceae
ชื่ออังกฤษ Garlic
ชื่อท้องถิ่น เทียม, หอมเทียม, หัวเทียม

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์

1. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
สารสกัดกระเทียมด้วยแอลกอฮอล์ 95% มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้กระต่าย (1, 2)

2. ฤทธิ์ขับน้ำดี
กระเทียมเมื่อรับประทานเข้าไป จะไปเพิ่มน้ำย่อยและน้ำดี

3. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุอาการแน่นจุกเสียด
มีรายงานว่ากระเทียมออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการแน่นจุกเสียด เช่น E. coli, Shigella เป็นต้น โดยสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ allicin

4. ฤทธิ์ลดการอักเสบ
กระเทียมสามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบ จึงช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร อันจะเป็นผลช่วยลดการแน่นจุกเสียด ในผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ โดยต้านการสังเคราะห์ prostaglandin

5. การทดลองทางคลินิก ใช้รักษาอาการแน่นจุกเสียด
ทางอินเดียทดลองให้สารสกัดกระเทียมด้วยบิวธานอลกับคนไข้ 30 คน ที่มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ พบว่าระงับอาการปวดท้องและขับลม
มีรายงานผลการทดลองในคนไข้ 29 ราย เมื่อได้รับยาเม็ดกระเทียมในขนาด 0.64 กรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารกลางวันและเย็น เป็นเวลา 2 สัปดาห์ สามารถขับลมและลดอาการจุกเสียด คลื่นไส้หลังอาหาร พบว่าใช้ได้ดีทั้งอาการจุกเสียดแบบธรรมดา และเนื่องจากอาการทางประสาท จากการถ่าย X-ray พบว่าสามารถเพิ่มการบีบตัวแบบขับเคลื่อนของกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ทำให้ลมกระจายตัว ผู้วิจัยเรียกสารออกฤทธิ์นี้ว่า gastroenteric allechalcone

6. ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ
กระเทียมสามารถป้องกันตับอักเสบเนื่องจาก carbon tetrachloride , dimethylhydrazine , galactosamine สารสำคัญในการออกฤทธิ์คือ S-propyl cysteine , S-allyl mercaptocysteine , S-methyl-mercaptocysteine , ajoene , diallyl sulfide

7. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
มีผู้ทดลองฤทธิ์ต้านเชื้อราของกระเทียมมากมาย พบว่าสารสกัดด้วยน้ำและน้ำมันหอมระเหย สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลาก คือ Trichophyton , Epidermophyton และ Microsporum ได้ดี

8. สารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
สารสำคัญเป็นสารที่ไม่คงตัว พบได้น้อยในพืชในรูปของ alliin เมื่อเซลลูโลสพืชถูกทำลาย alliin ถูกเปลี่ยนเป็น allicin ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ และ allicin ที่อุณหภูมิต่ำๆ จะเปลี่ยนเป็น ajoene ซึ่งยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา เช่นเดียวกับ allicin

9. การทดสอบความเป็นพิษ
9.1 ให้หนูกินสารสกัดกระเทียมด้วยอีเธอร์ขนาด 2-4 กรัม ทุกวัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ไม่พบว่ามีพิษต่อตับ หัวใจ ไต ต่อมหมวกไต ม้าม ไทรอยด์

9.2 เมื่อป้อนสารสกัดกระเทียมด้วยแอลกอฮอล์ 95% แก่หนูขาว ซึ่งขาดน้ำดี ไม่พบพิษ

9.3 ฉีดสารสกัดสีขาวไม่มีกลิ่น ละลายน้ำ พบว่ามีฤทธิ์ลดปริมาณแคลเซียม หนูมีอาการกระวนกระวาย เดินไม่ตรง เคลื่อนไหวช้า และเกิดอาการโคม่า ปริมาณที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง คือ 222 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดกระต่าย โดยค่อยๆ เพิ่มขนาด ทำให้กระต่ายตายในขนาด 100-200 มิลลิกรัม% น้ำมันหอมระเหยขนาด 0.755 ซี.ซี./ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทำให้เกิดอาการงง

9.4 สารสกัดกระเทียมด้วยน้ำ, แอลกอฮอล์ หรืออะซิโตน ทำให้เกิดอาการแพ้ในคน

9.5 Uemori ได้ทดลองให้สารสกัดแอลกอฮอล์ขนาด 0.755 มิลลิกรัม แก่กระต่ายทางหลอดเลือด พบว่าทำให้เกิดอาการกระตุ้นการหายใจตอนแรก ต่อมาเกิดอาการกดระบบหายใจ และระบบหายใจล้มเหลวในที่สุด เมื่อทดลองให้สารสกัดนี้กับหัวใจกบที่ตัดแยกจากตัว พบว่าจะลดการบีบตัวของหัวใจ และหยุดในที่สุด แต่อาการพิษจะกำจัดได้โดยการล้างหัวใจ Caffeine จะช่วยลดอาการพิษได้บางส่วน Adrenaline ไม่ได้ผล แต่เมื่อใช้ atropine จะยับยั้งพิษได้สมบูรณ์ ถ้าใช้ในขนาดน้อยๆจะทำให้หลอดอาหารกระต่ายที่ตัดแยกจากตัวลดการบีบตัว เมื่อฉีดสารสกัดเข้าหลอดเลือดกระต่าย จะพบอาการต่างๆ ดังนี้ ขนาด 10 มิลลิลิตร ทำให้หัวใจเต้นแรง ขนาด 4 มิลลิลิตร เกิดอาการความดันโลหิตลดลงชั่วคราว และขนาด 8 มิลลิลิตร มีฤทธิ์เพิ่มความดันโลหิตและฤทธิ์อยู่ได้นาน

10. ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
เมื่อทดลองฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ของเซลล์ไขกระดูก โดยใช้กระเทียมสด ในขนาด 1.25, 2.5, 5.0 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ น้ำคั้นกระเทียมสด และสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ มีผลลดจำนวน micronucleated cell ของเซลล์ไขกระดูก และ polychromatocytes ในหนูและ Chinese hamster

11. ต้านการก่อกลายพันธุ์
สารสกัดน้ำกระเทียมทำให้เกิดการสูญเสียของ chromatin จากสายใยของ cell nuclei และต้านการก่อกลายพันธุ์ซึ่งเกิดจาก cumol hydroperoxide, ter-butyl hydroperoxide, hydrogen peroxide และ gamma-irradiation แต่ไม่สามารถต้านฤทธิ์ของ antibiotic, NaN3, 2-nitrofluorene, 1,2-epoxy-3,3,3-trichloropropane หรือ Alpha-methyl hydronitrosoguoamidine ดังนั้นสารสกัดน้ำด้วยกระเทียม มีผลต่อต้านการก่อกลายพันธุ์จากปัจจัยซึ่งเป็นปฎิกริยาทางรังสี มากกว่าต้านการทำลายของ DNA นอกจากนี้การทดลองการต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ของกระเทียม ด้วยสารสกัดต่างๆ ให้ผลดังนี้ สารสกัดกระเทียมด้วยน้ำ ให้ผลต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ใน E. coli สารสกัดกระเทียมด้วยอะซิโตน ให้ผลต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ใน Salmonella typhimurium strain TA89, TA100 ที่เกิดจาก aflatoxin B1 สารสกัดสามารถลดการก่อกลายพันธุ์ได้ 73-93% กระเทียมดิบบด ต้านการก่อกลายพันธุ์ของ 4-metroquinoline-1-oxide แต่ไม่เกิดปฎิกริยาการก่อกลายพันธุ์ของ UV-irradiation

การใช้กระเทียมรักษาอาการแน่นจุกเสียด
1.
นำกระเทียม 5-7 กลีบ บดให้ละเอียด เติมน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ เกลือและน้ำตาลนิดหน่อย ผสมให้เข้ากัน กรองเอาน้ำดื่ม

2. นำกระเทียมปอกเปลือก นำเฉพาะเนื้อใน 5 กลีบ ซอยให้ละเอียด รับประทานกับน้ำหลังอาหารทุกมื้อ แก้ปวดท้องอาหารไม่ย่อย

การใช้กระเทียมรักษากลาก เกลื้อน

1. นำกระเทียมมาขูดให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดให้แหลก พอกที่ผิวหนัง แล้วปิดด้วยผ้าพันแผลไว้นานอย่างน้อย 20 นาที จึงแก้ออก แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ทำซ้ำเช้าเย็นเป็นประจำทุกวัน

2. นำใบมีดมาขูดผิวหนังส่วนที่เป็นเกลื้อนให้พอเลือดซึม แล้วใช้กระเทียมทาลงไป ทำเช่นนี้ทุกวัน 10 วันก็จะหาย



http://www.thaifitway.com/education/ndata/n2db/question.asp?QID=25

แคลเซียม กับโรคกระดูกพรุน

แคลเซียม กับโรคกระดูกพรุน

กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

http://advisor.anamai.moph.go.th/healthteen/health14.html

แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่สำคัญ ซึ่งร่างกายของคนเราใช้ในการ สร้างกระดูกและฟัน ทำให้กระดูกมีความแข็งแกร่ง นอกจากนี้แคลเซียมยังควบคุม การทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น การหดตัวของกล้ามเนื้อ การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือด เมื่อมีบาดแผล การทำงานของระบบประสาท เป็นต้น

แคลเซียม กับการเกิดโรคกระดูกพรุน หากได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมอยู่ในกระดูก ออกมาใช้ เมื่อเกิดขึ้นเป็นประจำ แคลเซียมในกระดูกจะถูกดึงออกมามาก จนกระทั่งกระดูกพรุน เปราะ ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง จึงแตกหักได้ง่าย แม้ว่าได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาการเหล่านี้ เป็นอาการของ "โรคกระดูกพรุน" และถ้าได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ตั้งแต่เด็ก โอกาสที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนก็มีเพิ่มขึ้น

ในระยะเริ่มแรก โรคนี้จะไม่แสดงอาการ จนกระทั่งมีความรุนแรงมากขึ้น จึงแสดงอาการออกมา เช่น มีอาการปวดหลังเรื้อรัง หลังค่อมจากการยุบตัวลงของกระดูกสันหลัง หรือกระดูกสะโพกหัก ทำให้เดินไม่ได้เหมือนเดิม และถ้าเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

ความต้องการของแคลเซียม
ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการ จะเปลี่ยนแปลงตามวัย และสภาวะต่างๆ ของร่างกาย

ทารก เด็ก และวัยรุ่น
เป็นช่วงที่มีการสร้างกระดูกมากที่สุด ทำให้มวลกระดูกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น จึงเป็นช่วงสำคัญ ในการสะสมมวลกระดูก สำหรับการเจริญเติบโต และเพิ่มมวลกระดูกให้มีปริมาณสูงสุด

วัยหนุ่มสาว
ในช่วงอายุ 19-30 ปี ยังมีการสะสมมวลกระดูกอีกเล็กน้อย จึงจะถึงปริมาณสูงสุด

วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ
เป็นช่วงที่มีการดึงแคลเซียมออกจากกระดูกเพิ่มขึ้น ทำให้มวลกระดูกลดลง โดยเฉพาะผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ในช่วง 5 ปีแรก มวลกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว

หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมลูก
เนื่องจากในขณะตั้งครรภ์ หรือให้นมลูก ร่างกายมีการปรับตัวโดยการดูดซึมแคลเซียม ที่ลำไส้เล็กเพิ่มขึ้น และดึงแคลเซียมออกจากกระดูกน้อยลง ดังนั้น ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำในกลุ่มนี้ จึงเท่ากับก่อนตั้งครรภ์ แต่เนื่องจากหญิงก่อนตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ มักจะบริโภคแคลเซียม ในปริมาณน้อยกว่าที่แนะนำ ดังนั้น ในระยะตั้งครรภ์ และให้นมลูก จึงต้องบริโภคอาหารที่มีอคลเซียมเพิ่มขึ้น ให้เพียงพอตามที่แนะนำ เพื่อการสร้างกระดูกของทารกในครรภ์ ซึ่งจะส่งผลให้มีพัฒนาการ และการเจริญเติบโตที่ดี

ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้คนไทยบริโภค
กลุ่ม กลุ่มอายุ ปริมาณแคลเซียม (มิลลิกรัม)
ทารก 0-6 เดือน 210
7-12 เดือน 270

เด็ก 1-3 ปี 500
4-8 ปี 800

วัยรุ่น 9-18 ปี 1,000

ผู้ใหญ่ 19-50 ปี 800
>50 ปี 1,000

หญิงตั้งครรภ์ 19-50 ปี 800

หญิงให้นมลูก 19-50 ปี 800
"หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมลูกที่เป็นวัยรุ่น ควรบริโภคแคลเซียม ตามปริมาณที่แนะนำในช่วงวัยรุ่น"
"คนที่มีการสะสมมวลกระดูกมาก ตั้งแต่วัยเด็ก ถึงวัยหนุ่มสาว เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน และวัยชรา จะยังมีมวลกระดูกเหลืออยู่ มากกว่าคนที่มีการสะสมมวลกระดูกน้อย และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนในวัยสูงอายุ"

การเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก

การบริโภคแคลเซียมให้เพียงพอในทุกช่วงวัย มีความจำเป็นอย่างยิ่ง และสามารถปฏิบัติได้ง่าย โดยการดื่มนม และบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมปานกลาง และสูงทุกวัน การบริโภคแคลเซียมจากอาหาร นอกจากจะได้รับแคลเซียมแล้ว ยังได้รับสารอาหารอื่นๆ ที่มีความจำเป็น สำหรับการสร้างกระดูกอีกด้วย และถ้าได้รับแคลเซียมเพียงพอ ร่วมกันการ ได้รับแสงแดด และการออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงสารเสพติด จะช่วยเสริมสร้างร่างกาย รวมทั้งกระดูกให้มีสุขภาพดียิ่งขึ้น

แหล่งอาหารแคลเซียม

แคลเซียม ช่วยในการสร้างกระดูกและฟัน

นมและผลิตภัณฑ์นม
เป็นแหล่งของแคลเซียมที่ดี เนื่องจากนมมีปริมาณแคลเซียมสูง และร่างกายนำไปใช้ได้มาก เด็กและวัยรุ่นควรดื่มนมวันละ 2-3 แก้ว ส่วนผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ควรดื่มวันละ 1-2 แก้ว
ปลา และสัตว์เล็กอื่นๆ ที่สามารถกินได้ทั้งกระดูก หรือเปลือก
เป็นแหล่งของแคลเซียมที่ดี เช่น ปลาซิว ปลาเกล็ดขาว ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีนกระป๋อง กบ เขียด กิ้งก่า แย้ กุ้งฝอย กุ้งแห้ง เป็นต้น
ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไต ควรระวังการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มจัด หรือมีการหมักด้วยเกลือในปริมาณมาก เพราะจะทำให้ความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น
ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์
เป็นแหล่งของแคลเซียมที่ดี เช่น เต้าหู้อ่อน (ไม่ใช่เต้าหู้หลอดไข่) เต้าหู้แข็ง เต้าฮวย เป็นต้น
น้ำเต้าหู้ มีปริมาณแคลเซียมไม่มาก จึงไม่ใช่แหล่งแคลเซียมที่ดี แต่น้ำเต้าหู้ก็มีสารอาหารอื่นที่มีประโยชน์ เช่น โปรตีน เป็นต้น
ผักใบเขียว
ผักที่มีแคลเซียมสูง และร่างกายนำไปใช้ได้มาก เช่น ผักกาดเขียว ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า เป็นต้น
ผักบางชนิด แม้ว่าจะมีแคลเซียมสูง แต่ร่างกายนำไปใช้ได้น้อย เพราะมีปริมาณสารไฟเตต และออกซาเลทสูง เช่น ใบชะพลู ผักโขม ปวยเล้ง เป็นต้น จึงควรกินในปริมาณที่พอควร

ตัวอย่างปริมาณแคลเซียมในอาหาร
อาหาร ปริมาณอาหารที่บริโภค ปริมาณแคลเซียม (มิลลิกรัม)
นมจืด 1 กล่อง (200 มิลลิลิตร) 226
นมพร่องมันเนย 1 กล่อง (200 มิลลิลิตร) 246
โยเกร์ต, รสต่างๆ, เฉลี่ย 1 กล่อง (150 กรัม) 160
นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม, รสต่างๆ, เฉลี่ย 1 กล่อง (180 มิลลิลิตร) 106
ปลาตัวเล็ก 2 ช้อนกินข้าว 226
ปลาซาร์ดีนกระป๋อง 4 ช้อนกินข้าว 198
กุ้งฝอย, ดิบ 1 ช้อนกินข้าว 134
กุ้งแห้ง 1 ช้อนกินข้าว 138
กิ้งก่า. ย่าง 1 ตัวกลาง 177
เต้าหู้อ่อน 5 ช้อนกินข้าว 150
เต้าหู้แข็ง 2 ช้อนกินข้าว 32
ผักคะน้า, ผัด 1 ทัพพี 71
ผักกาดเขียว, ต้ม 1 ทัพพี 96
ผักกวางตุ้ง, ต้ม 1 ทัพพี 60
ผักกาดขาว, ต้ม 1 ทัพพี 49
ใบยอ, นึ่ง ½ ทัพพี 87
ใบกระเพรา, ผัด 3 ช้อนกินข้าว 61





มาบริโภคน้ำมันปลากันเถอะ

มาบริโภคน้ำมันปลากันเถอะ

ศ.นพ.เสก อักษรานุเคราะห์


ไขมันชนิดไม่อิ่มตัวมีกรดไขมันจำเป็น
กรดไขมันจำเป็นที่สำคัญต่อร่างกายมี โอเมก้า 9 หรือ โอเลอิค ซึ่งมีใน monounsaturated fats ส่วนโอเมก้า 6 หรือ เลโนเลอิค และโอเมก้า 3 หรือ เลโนเลนิค ซึ่งมีใน polyunsaterated fats แต่ในน้ำมันปลานั้นจะมี แอลฟา เลโนเลนิค ซึ่งจะมี อี พี เอ (Eicosapentaenoic acid) และ ดี เอช เอ (docosahexaenoic acid) เป็นส่วนประกอบแต่ก็เป็น PUFA เช่นกัน

ถ้าร่างกายขาดกรดไขมันจำเป็นนี้ จะทำให้

  1. การเจริญเติบโตของเด็กจะหยุดหรือช้าลง
  2. โรคภูมิแพ้เป็นง่าย
  3. เป็นหมันได้ บางรายความต้องการทางเพศลดลง หรือบางรายประจำเดือนเลื่อน ไม่ตรงตามกำหนด หรือขาดไปเลยได้
  4. ผิวหนัง ขน หรือผมแห้งกรอบ
  5. บวมน้ำตามข้อเท้าหรือขา น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  6. ความทนทานต่อความเครียดลดลง
  7. หิวน้ำ ดื่มน้ำมาก
  8. แพ้ทุกสิ่งทุกอย่างได้ง่าย
  9. เด็กมักจะอยู่ไม่สุก อยู่นิ่งไม่ได้
อาหารต่าง ๆ มีกรดไขมันชนิดอิ่มตัว และชนิดจำเป็นต่อร่างกายดังนี้
ส่วนประกอบของกรดไขมันชนิดต่าง ๆ ในอาหาร
(กรัม /100 กรัม ของกรดไขมันทั้งหมด)
ประเภทอาหาร ไขมัน
อิ่มตัว
ปริมาณกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว
โอเลอิค เลโนเลอิค เลโนเลนิค อีพีเอ ดีเอชเอ
ประเภทสารอาหาร
ข้าวบาร์เลย์
24 11 57 6 - -
ข้าวสาลี 20 15 59 4 - -
นมวัว61 37 1 1 - -
เนื้อแกะ 52 38 2 2 Trace -
เนื้อไก่ 35 39 13 10 1
ถั่วเหลือง 25 3 2840 - -
ถั่วลิสง 46 36 10 3 - -
ผักสปินแนช 13 7 12 62 - -
แอปเปิ้ล 28 6 54 10 - -
น้ำมันพืช
น้ำมันเมล็ดฝ้าย
26 21 49 2 - -
น้ำมันข้าวโพด 17 30 50 2 - -
น้ำมันดอกทานตะวัน10 13 75 1 - -
น้ำมันถั่วเหลือง 1425 52 7 - -
น้ำมันเมล็ดนุ่น 9 19 24 47- -
ประเภทอาหารทะเล
ปลาเนื้อขาว
-ปลาคอด
28 11 1 Trace 17 33
-ปลาแฮดดอก 29 14 2 1 12 24
ปลาแมว
-ปลาเฮอริง
22 15 2 1 7 6
--ปลาอินทรีย์, ปลาทู 27 18 2 1 7 13
ประเภทสัตว์น้ำ ที่มีเปลือกหุ้ม
-ปู
16 15 3 4 21 10
-กุ้ง 21 18 2 2 21 15
ประเภทหอย
-หอยแมลงภู่, หอยกาบ, หอยกระพง
24 7 2 2 11 4
-หอยนางรม 24 7 2 2 11 4
-หอยแครง 21 18 2 2 21 15

อาหารเหล่านี้ไม่ควรทอด ให้ใช้ต้มหรือนึ่ง
จะทำให้อีพีเอ และ ดีเอชเอ ไม่ถูกทำลาย

อันตรายจากรับประทานไขมันไม่อิ่มตัวชนิด PUFA มากเกินไป
1. PUFA + O2 ----> free radicals
ตัว free radicals จะไปทำลายเยื่อบุเซลล์ RNA และ DNA และนิวเครียส ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ของรูปเซลล์ จนสุดท้ายกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้
ตัว Free radicals จาก PUFA นี้มี 2 ตัว คือ hydroyly และ superoxide

การที่น้ำมันพืชถูกความร้อนจนเดือด เช่น การทอด จะทำให้ PUFA รวมตัวกับ oxygen กลายเป็น free radicals ฉะนั้นการทอดอาหาร จึงไม่ควรทอดด้วยน้ำมันพืชชนิด PUFA อาจใช้น้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันเนย หรือน้ำมันพวกโอลีฟก่อน เมื่อทอดสุกแล้วดับไฟ ปล่อยให้เย็นแล้วจึงค่อยเติมน้ำมันพืชชนิด PUFA เพื่อจะได้โอเมก้าที่ไม่ถูกเปลี่ยนเป็น free radicals จะได้ประโยชน์เต็มที่โดยไม่มีโทษ

2. ตัว PUFA อาจจะแตกตัวกลายเป็น Dienes ซึ่งสามารถทำลายเซลล์ เปลี่ยนรูปของเซลล์ เป็นสาเหตุให้เกิดเซลล์มะเร็งได้

3. ถ้าใครรับประทาน PUFA เป็นประจำ อาจจะต้องการอาหารบางชนิดเพื่อไปยับยั้งการรวมตัวของ PUFA กับออกซิเจนให้กลายเป็น free radicalsในร่างกาย เช่น วิตามิน E วิตามิน C ส่ายีสต์ กระเทียม หัวหอม ผักบรอกเครี มันสำปะหลังต้ม ไข่ปลาทูน่า และธาตุซีลีเนี่ยม (ซึ่งได้จากกระเทียม) แต่ถ้ารับประทาน มากเกินไป เกิดโทษได้เช่นกัน ขอแนะนำให้รับวิตามิน C ร่วมกับวิตามิน E

4. โรคที่เกิดขึ้นได้จากการบริโภค PUFA มากเกินไป

  • - มะเร็ง
  • - แก่ก่อนกำหนด เช่น ผิวหนังเหี่ยวแห้ง มะเร็งผิวหนัง
  • - โรคโลหิตจาง
  • - โรคตับและนิ่วในถุงน้ำดี
  • - ลำไส้เล็กถูกทำลายและอุดตันได้
  • - ความดันโลหิตสูง
  • - เส้นเลือดตีบตัน
  • - เพิ่มระดับ uric acid ในเลือดได้
ข้อควรปฏิบัติ
  1. เก็บในขวดแก้วสีน้ำตาล
  2. ไม่ควรซื้อน้ำมันพืชในขวดพลาสติก ชนิด PVC (poly vinyl chloride) และตัว PVC จะถูกน้ำมันพืชละลาย ซึ่งสารตัวนี้เป็นสารก่อมะเร็ง
  3. ควรเติมวิตามิน อี 1000 IU ลงในน้ำมันพืชเพื่อป้องกันไม่ให้ PUFA รวมตัวกับ oxygen
  4. เก็บขวดน้ำมันพืชในตู้ไม่มีแสงเข้าได้
  5. อย่าเก็บน้ำมันพืชไว้นานเกินไป ให้ดูวันหมดอายุ ที่ข้างขวดไว้ด้วย
  6. อย่านำน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารแล้ว เก็บเอาไว้ และนำมาใช้ใหม่ เททิ้งจะปลอดภัยกว่า

ฉะนั้นจะเห็นว่า น้ำมันพืชชนิด PUFA ยังมีข้อเสียเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ส่วนน้ำมันปลา ซึ่งมี แอลฟา เลโนเลนิค ถึงจะทำให้เกิดอันตรายดังกล่าว แต่เนื่องจากบรรจุใน เม็ดเจลนุ่ม ๆ การรับประทาน จึงเป็นการรับแบบยา ไม่สามารถนำไปหุงอาหารได้ จึงเกิดความปลอดภัยส่วนหนึ่ง และน้ำมันปลายังมีคุณประโยชน์มากกว่าด้วย จึงควรบริโภคน้ำมันปลาดีกว่า

น้ำมันปลา
น้ำมันปลา (Marine Fish Oil) เป็นน้ำมันที่สกัดจากเนื้อปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาโอ ปลาซาบะ ปลาทูน่า มีปลาน้ำจืดอย่างเดียวคือ ปลาแซลม่อน ที่ให้น้ำมันปลาที่ดี ส่วนน้ำมันตับปลาไม่ใช่น้ำมันปลา ที่เราต้องการ เพราะในตับของสัตว์ทุกชนิด มีโคเลสเตอรอลสูงทั้งนั้น

น้ำมันปลาให้พลังงานกับร่างกายคล้ายกับไขมันทั่ว ๆไป แต่ยังมีคุณภาพพิเศษ ที่ทำให้สุขภาพของเราดีเยี่ยมได้อีกด้วย

การตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ เป็นสาเหตุของการตายอันดับหนึ่ง ซึ่งสาเหตุของการตีบตันจะประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง

สาเหตุการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ
    1. กรรมพันธุ์
    2. ความอ้วน
    3. ความดันสูง
    4. ไขมันในเลือดสูง
    5. เบาหวาน
    6. ความเครียด
    7. บุหรี่ เหล้า กาแฟ
    8. ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ

ในเรื่องไขมันในเลือดสูง จะทำให้เกิดการตีบตันของหลอดเลือด นั้น เกิดจาก

สาเหตุไขมันในเลือดสูง
  1. ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง
  2. ระดับโคเลสเตอรอลชนิด HDL (high density lipoprotein) ในเลือดต่ำ
  3. ระดับตรัยกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง
ทั้งโคเลสเตอรอลและตรัยกลีเซอร์ไรด์ จะเกาะที่ผนังหลอดเลือดแดง ทำให้ ผนังหลอดเลือดแดงตีบลง จนตันได้ นอกจากนี้กรดไขมันในเลือดยังมีผลต่อ การเกาะตัวของเกร็ดเลือดในหลอดเลือด ทำให้เลือดแข็งตัวง่าย

LDL-Cholesterol เป็นตัวเกาะผนังหลอดเลือดให้ตีบตัน
HDL-Cholesterol เป็นตัวกวาดล้างให้หลอดเลือดสะอาด ไม่ให้โคเลสเตอรอลเกาะ
Triglycerides เป็นตัวเกาะให้หลอดเลือดตีบตัน เช่นเดียวกับโคเลสเตอรอล

น้ำมันที่ใช้ทอดอาหารมีหลายชนิด
1. กรดไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม
2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันปลา น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น

กรดไขมันอิ่มตัว ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง
กรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมี 2 ตัวคือ

  • โอเมก้า 9
  • โอเมก้า 6
  • โอเมก้า 3
ชนิด ส่วนประกอบ หน้าที่ี่
โอเมก้า9 Oleic acid ลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด
โอเมก้า6 Lenoleic acid (น้ำมันถั่วเหลือง)
  1. ลดระดับโคเลสเตอรอลและตรัยกลีเซอร์ไรด์ แต่เพิ่มระดับ HDL ในเลือด
  2. เปลี่ยนเป็น Arachedonic acid ซึ่งจะถูกนำไปสร้างเป็น Prostaglandins-2 ซึ่งจะทำให้เกร็ดเลือดไม่จับเกาะกัน และสร้างเป็น Thromboxan-A2 ซึ่งทำให้เกร็ดเลือด จับเกาะกัน
    ฉะนั้นถ้า 2 ตัวนี้อยู่ในสมดุล ก็จะลบล้างกันไปเอง
โอเมก้า3 Alpha-Lenoleic acid (น้ำมันปลา)

โอเมก้า 3
( 1000 มิลลิกรัม) มี
-EPA 180 มิลลิกรัม
-DHA 120 มิลลิกรัม

  1. เปลี่ยนเป็น EPA (Eicosapentaenoic acid) ซึ่งลดโคเลสเตอรอล ลดตรัยกลีเซอร์ไรด์
    และเพิ่ม HDL ในเลือดได้
  2. เปลี่ยนเป็น DHA (Docosahexaenoic acid) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์ส่วนสมอง จึงเท่ากับบำรุงสมองด้วย
  3. EPA นำไปเสร้าง Prostaglandins-3 ซึ่งทำให้เกร็ดเลือดไม่เกาะกัน และนำปสร้าง Tromboxan-3 ซึ่งมีผลต่อการเกาะของเกร็ดเลือด น้อยมาก ผลรวมจึงทำให้เกร็ดเลือดไม่แข็งตัวง่าย
น้ำมันปลาและเนื้อปลาทะเล มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด โอเมก้า 3 นี้มาก จึงสามารถป้องกันการตีบตัน และเลือดแข็งตัว ของหลอดเลือดหัวใจได้ดีกว่า น้ำมันชนิดอื่น แต่การบริโภคปลาทะเลหรือน้ำมันปลามากเกินไปก็มีโทษเช่นกัน จะทำให้ เลือดออกง่ายเลือดหยุดยาก จึงควรระมัดระวัง ในตระกูลที่มีโรคหลอดเลือดไหลไม่หยุด

ขนาดที่พอเหมาะ
ปลาทะเลวันละ 30 กรัม
น้ำมันปลาวันละ 3 กรัม (1000-3000 มิลลิกรัม)

ปลาทูคู่ไทย
อีพีเอ 12.24% ของไขมันทั้งหมด
ดีเอชเอ 14.96 ของไขมันทั้งหมด%

ถ้าร่วมกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นประจำ วันละ 30 นาที ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในสมดุล และไม่สูบบุหรี่ ไม่กินกาแฟมากเกินไป จะทำให้ท่านปลอดภัยจากโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้

วิตามินซี
















ประโยชน์ของ วิตามินซี

เราทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า วิตามินซี

มีประโยชน์มากมากหลายอย่าง ไม่ว่าจะช่วยปกป้องเซล

เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สุขภาพและความแข็งแรงของเนื้อเยื่อในร่างกายที่เกี่ยวข้องกับ เส้นเอ็น และคอลลาเจน ก็มีผลมาจากปริมาณ วิตามินซี ในร่างกาย และ วิตามินซี ยังมีฤทธิ์ในการเป็นสารแอนตี้อ๊อกซิแดนท์ที่ดี จึงสามารถป้องกันการทำลายเซลจากอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี และมันช่วยให้ร่างกายสามารถรีไซเคิลสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ ดังนั้นเพื่อประโยชน์สูงสุดจึงควรที่จะรับประทาน วิตามินซี ร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินอี แคโรทีน ฟลาโวนอย เป็นต้น

นอกจากนี้ วิตามินซี ยังมีประโยชน์ด้านอื่นๆ อีก คือ

วิตามินซี ช่วยบรรเทาความรุนแรงและระยะเวลาของการเป็นโรคหวัด หากเริ่มรับประทาน วิตามินซี ตั้งแต่เริ่มแรกที่เห็นอาการของโรคหวัด จะช่วยให้อาการป่วยลดความรุนแรงและหายได้เร็วขึ้น มีการศึกษาเมื่อปี 1995 พบว่าหากรับประทาน วิตามินซี 1,000 ถึง 6,000 มิลลิกรัมต่อวันตั้งแต่เริ่มมีอาการของโรคหวัด จะช่วยให้หายได้เร็วขึ้น 21% แต่ก็ยังไม่มีรายงานว่า วิตามินซี สามารถช่วยป้องกันโรคหวัดได้

วิตามินซี ช่วยให้แผลหายได้เร็วขึ้น เนื่องจาก วิตามินซี ช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมและรักษาตัวเองโดยการไปเสริมสร้างผนังเซล ทำให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง และต่อต้านอาการอักเสบ จึงทำให้แผลหายได้เร็วขึ้น ในทางกลับกันการขาด วิตามินซี ก็สงผลให้แผลให้ได้ช้าลงเช่นกัน

หากรับประทาน วิตามินซี เป็นประจำทุกวัน มันจะช่วยให้เหงือกมีสุขภาพแข็งแรง โดย วิตามินซี จะไปช่วยรักษาเซลที่ถูกทำลายและช่วยให้แผลที่เหงือกหายเร็ว

เพิ่มความต้านทานต่อ โรคหัวใจ โดยการไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมระดับ คลอเรสเตอรอล ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรับประทานร่วมกับ วิตามินอี โดยมันจะไปลดการเกาะตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด

เนื่องจาก วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี มันจึงอาจจะช่วยในการป้องกันและต่อสู้กับโรค มะเร็ง ได้ มีการศึกษาอย่างมากในเรื่องนี้แต่ก็ยังไม่ข้อสรุปที่ชัดเจน โดยยังมีการถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยว วิตามินซี กับการป้องกันและต่อสู้กับโรค มะเร็ง

ช่วยในการป้องกันโรคต้อกระจก เนื่องจาก วิตามินซี สามารถช่วยปกป้องเลนส์ตาจากอันตรายต่างๆ เช่น ควันบุหรี่ แสงอุลตร้าไวโอเลต ที่เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดโรคต้อกระจก มีการศึกษาอันหนึ่งพบว่าผู้หญิงที่รับประทานวิตามินซีมาอย่างน้อย 10 ปี พบว่ามีความเสี่ยงที่จะมีอาการเลนส์ตาขุ่นมัวซึ่งเป็นอาการเริ่มแรกของโรคต้อกระจก ลดลงถึง 77%

บรรเทาอาการแพ้ หอบหืด ไซนัส ทั้งนี้เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้ว วิตามินซี มีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านภูมิแพ้ต่างๆ เช่น ฝุ่นละออง เกษรดอกไม้ ซึ่งอาการแพ้เหล่านี้ก็เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งของโรคไซนัส นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า วิตามินซี ช่วยป้องกันและทำให้อาการหอบหืดดีขึ้น

ช่วยป้องกันอาการไมเกรน เมื่อรับประทานร่วมกับ pantothenic acid โดย วิตามินซี จะไปช่วยร่างกายในการต่อสู้กับความเครียดได้ดีขึ้น

ช่วยเรื่องความจำ โดย วิตามินซี จะไปช่วยรักษาสภาพของเซลประสาทและจะได้ผลดียิ่งขึ้นหากรับประทานร่วมกับอาหารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ เช่น วิตามินอี แคโรทีน กิงโกะไบโลบ้า และโคเอนไซม์ Q10

ขนาดที่รับประทาน
ในสภาวะปกติปริมาณที่แนะนำให้รับประทานคือ 60 มิลลิกรัมต่อวัน (แต่ในคนที่สูบบุหรี่ 200 มิลลิกรัมต่อวัน) อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเสริมสุขภาพได้แนะนำว่าเพื่อประสิทธิภาพที่ดีต่อสุขภาพควรจะต้องรับประทานอย่างน้อย 100-200 มิลลิกรัมต่อวัน คนที่มีความเครียดควรรับประทานวันละ 500 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากต้องการผลในด้านการป้งกันโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง ความชรา ควรจะรับประทาน 250 – 1,000 มิลลิกรัม

หากเราได้รับ วิตามินซี น้อยกว่าที่ร่างกายควรจะได้รับ ก็จะเกิดลักปิดลักเปิด ซึ่งจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นหากขาดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานและไม่ต้องกังวัลว่าจะได้รับมากเกินไป เนื่องจาก วิตามินซี สามารถละลายน้ำได้ดี หากร่างกายไม่ได้ใช้ก็จะมีการขับออกมาได้ทางปัสสาวะ อีกทั้งยังไม่เคยมีรายงานเกี่ยวกับพิษที่เกิดจากการรับประทาน วิตามินซี แม้จะรับประทานในปริมาณที่สูงกว่า 6,000 - 18,000 มิลลิกรัม

ข้อปฏิบัติในการรับประทานเพื่อประโยชน์สูงสุด

เพื่อให้ได้ผลดีที่สุดควรพิจารณารับประทานร่วมกับสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ เช่น วิตามินอี ฟลาโวนอย จะไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ วิตามินซี

เพื่อสุขภาพทั่วไป ควรรับประทานอย่างน้อย 500 มิลลิกรัมต่อวัน

สำหรับการรับประทานเพื่อการรักษาหรือการป้องกัน ควรรับประทาน 1,000 – 6,000 มิลลิกรัม ขึ้นกับโรคแต่ละชนิด

การรับประทานไม่จำเป็นต้องรับประทานในครั้งเดียวต่อวัน สามารถแบ่งรับประทานเป็นหลายๆ ครั้งต่อวัน

การรับประทาน วิตามินซี ไม่จำเป็นต้องรับประทานพร้อมอาหาร หรือทานอาหารก่อนการรับประทาน

ยังไม่มีรายงานว่า วิตามินซี ชนิดพิเศษพวก Esterifies วิตามินซี จะให้ผลดีกว่าวิตามินซีแบบธรรมดา

ข้อควรระวัง

การรับประทานในปริมาณสูงๆ อาจจะมีผลต่อการดูดซึมแร่ธาตุอื่นๆ เช่น Copper Selenium

การรับประทานในปริมาณสูงๆ อาจจะมีผลต่อการผิดพลาดของผลตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะได้

วิตามินซี ทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี จึงอาจจะเกิดภาวะได้รับธาตุเหล็กเกิน

ภาวะการขาดวิตามินทั้ง 2 ชนิดเกิดขึ้น เนื่องจาก
ร่างกายสูญเสียวิตามินบีรวมและวิตามินซีไปใน
แต่ละวันโดยการขับออกจากร่างกายทางเหงื่อและ
ปัสสาวะ ดังนั้นในแต่ละวัน ร่างกายจำเป็นต้องได้รับ
วิตามินบีรวมและวิตามินซีจากธรรมชาติในปริมาณ
พอเหมาะและสม่ำเสมอ




ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ
เกี่ยวกับผลไม้เมืองร้อนทั้ง 5 ชนิด

อะเซโรลา เชอร์รี

ข้อมูลวิจัยล่าสุดจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
ของอะเซโรลา เชอร์รี พบว่า...


วิตามินซีจากผงอะเซโรลา เชอร์รี สามารถเอื้อ
ประโยชน์ต่อร่างกายได้มากกว่าวิตามินซีที่ได้จากการ
สังเคราะห์

ในเด็กทารก หลังจากรับประทานวิตามินซีจาก
อะเซโรลา เชอร์รี ผสมกับน้ำแอปเปิ้ล พบว่าเด็กทารก
มีอัตราการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย
เมื่อเทียบตามอายุและน้ำหนักสูงกว่ามาตรฐานเด็กทารก
ในวัยเดียวกัน

ในผู้ใหญ่สูงอายุที่มีกิจกรรมปกติพบว่า หลังจาก
การรับประทานอะเซโรลา เชอร์รี แล้วเจาะเลือดจะมี
ระดับของเม็ดเลือดขาวจำพวกลิวโคไซท์เพิ่มขึ้น
ในเลือด ดังนั้น การรับประทานอะเซโรลา เชอร์รี
จึงมีความสัมพันธ์กับการเสริมภูมิต้านทานในผู้สูงอายุ
อย่างมีนัยสำคัญ

อะเซโรลา เชอร์รี ต้านเชื้อราได้ เนื่องจากในผล
อะเซโรลา เชอร์รี ให้สารออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบ
โตของเชื้อราจำพวก Epidermephyton
floccosum, Microsporum canis และ
Trichophyton rubrum

ในผู้ใหญ่สูงอายุที่มีกิจกรรมปกติพบว่า หลังจาก
การรับประทานอะเซโรลา เชอร์รี แล้วเจาะเลือดจะมี
ระดับของเม็ดเลือดขาวจำพวกลิวโคไซท์เพิ่มขึ้น
ในเลือด ดังนั้น การรับประทานอะเซโรลา เชอร์รี
จึงมีความสัมพันธ์กับการเสริมภูมิต้านทานในผู้สูงอายุ
อย่างมีนัยสำคัญ

อะเซโรลา เชอร์รี ต้านเชื้อราได้ เนื่องจากในผล
อะเซโรลา เชอร์รี ให้สารออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบ
โตของเชื้อราจำพวก Epidermephyton
floccosum, Microsporum canis และ
Trichophyton rubrum


ฝรั่ง

ข้อมูลวิจัยล่าสุดจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
ของฝรั่ง พบว่า...


ผลฝรั่งให้ใยอาหารประเภทละลายไขมันสูง จึง
สามารถลดแรงดันหัวใจค่าบนเมื่อหัวใจบีบตัว และแรง
ดันหัวใจค่าล่างเมื่อหัวใจคลายตัว เพื่อนำเลือดที่ใช้แล้ว
กลับเข้าสู่หัวใจเพื่อส่งต่อไปยังปอดอีกทอดหนึ่งให้ลด
ลงได้อย่างมีนัยสำคัญ คือ ลดลง 9 มิลลิเมตรปรอท
เมื่อเทียบกับกลุ่มทดลองที่รับประทานอาหารตามปกติ
สามารถลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดได้ถึง 9.9%
ไตรกลีเซอไรด์ 7.7% โดยเพิ่มค่าไขมันชนิดดี คือ
HDL สูงขึ้น 8%
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย(Antibacterial activity)
สารสกัดจากผลฝรั่งสามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย อันเป็น
สาเหตุของโรคไทฟอยด์ได้โดยฤทธิ์ของสารแทนนิน
ในฝรั่ง
ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด (Antihypoglycemic
activity) เมื่อฉีดน้ำคั้นจากฝรั่งเข้าช่องท้องของหนูที่
เป็นเบาหวาน ในขนาด1.0 กรัม/กก. สามารถลดน้ำตาล
ในเลือดและให้ผลเช่นเดียวกันในคนไข้เบาหวาน

ผลมะม่วงหิมพานต์

ข้อมูลวิจัยล่าสุดจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
ของผลมะม่วงหิมพานต์ พบว่า

ผลมะม่วงหิมพานต์ให้สารสกัดที่ต่อต้านการเจริญ
ของเนื้องอก โดยในผลมะม่วงหิมพานต์จะมีสารอะนา
คาร์ดิค แอซิด (Anacardic Acid) ซึ่งพบว่า
สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็ง
เต้านมได้อย่างมีนัยสำคัญ
ในผลมะม่วงหิมพานต์สามารถให้สารคาร์ดอลซึ่ง
ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งใน
ปากช่องคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้สาร
คาร์ดอลที่มีอยู่ในผลมะม่วงหิมพานต์ยังออกฤทธิ์ต่อ
ต้านเชื้อจุลินทรีย์ และสามารถต่อต้านพยาธิได้ทุกชนิด
ผลมะม่วงหิมพานต์ให้สารประกอบจำพวกฟีนอล
ที่สามารถยับยั้งเอ็นไซม์ไทไรซิเนสที่เป็นสาเหตุของ
การเกิดเม็ดสีคล้ำใต้ผิวหนัง รวมทั้งเป็นสาเหตุของ
การเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ และรอยหมองคล้ำใต้
ผิวหนังอีกด้วย


แพชชั่นฟรุ้ต

ข้อมูลวิจัยล่าสุดจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
แพชชั่นฟรุ้ต หรือเสาวรส (Passion Fruit) พบว่า...

สารสกัดจากผลของเสาวรสเมื่อรับประทานแล้วจะรู้สึก
เย็นชุ่มคอ และให้ไอระเหยที่ให้ความรู้สึกโล่งในระบบ
ทางเดินหายใจ และมีฤทธิ์ขับปัสสาวะอ่อนๆ




สับปะรด

ข้อมูลวิจัยล่าสุดจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์
ของสับปะรด พบว่า...

สับปะรดให้สารสำคัญ คือ วิตามินซีสูงและเอ็นไซม์
ย่อยโปรตีนชื่อ บรอมมีลิน (bromelin) นอกจากนี้
สับปะรดยังให้คุณประโยชน์อื่นๆ คือ
ช่วยย่อยอาหารจำพวกโปรตีน จึงช่วยลดอาการ
แน่นท้อง
ป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
ลดอาการบวมอักเสบได้ โดยเอ็นไซม์บอรมมีลิน
ในสับปะรดช่วยลดอาการอักเสบและบวมที่เกิดจาก
การถูกกระแทก มีบาดแผล หรือแผลจากการผ่าตัด
ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ป้องกันมะเร็ง



ชนิดของวิตามิน

ปริมาณเฉลี่ยที่คนไทย
ต้องการต่อวัน

คุณประโยชน์หลัก

ผลของการขาดวิตามิน

แหล่งผลไม้ที่พบ

บี 1

1.5 มิลลิกรัม

ช่วยให้ระบบประสาทส่วนกลางในสมองและ
ปลายประสาทที่มือและเท้าทำหน้าที่ตามปกติ

เหน็บชา
ร่างกายอ่อนล้าง่าย

อะเซโรลา เชอร์รี
ฝรั่ง
สับปะรด

บี 2

1.7 มิลลิกรัม

ป้องกันภาวะโลหิตจาง

โรคปากนกกระจอก
โรคโลหิตจาง

อะเซโรลา เชอร์รี
ฝรั่ง
สับปะรด

บี 3

20 มิลลิกรัม NE*
(*NE หมายถึงNiacin Equivalence) หรือประมาณ 13 มิลลิกรัม

บำรุงผิวหนังและประสาท
ป้องกันอาการเมาค้างจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก
ลดอาการภูมิแพ้

ผิวหนังแตกหยาบกระด้าง
อ่อนเพลีย
ป้องกันภาวะหลอดเลือด
ตีบตัน

อะเซโรลา เชอร์รี
ฝรั่ง
สับปะรด

บี 5

6 มิลลิกรัม

ลดอาการเมื่อยล้า เสริมภูมิต้านทานต่อต้านการติดเชื้อ
ช่วยผลัดเปลี่ยนเซลล์ บำรุงผม ผิว เล็บ
ต่อต้านความเครียด
เพิ่มการสมานแผลและทดแทนการเกิดแผลเป็น

อ่อนล้า เครียด และ
เป็นหวัดง่าย
ผมแห้งกรอบ แตกปลาย
ผิวหยาบกร้าน
เล็บแตกหักง่าย
แผลหายช้า

อะเซโรลา เชอร์รี
อะโวคาโด
วอลนัท

บี 6

2 มิลลิกรัม

ลดอาการในภาวะที่มีประจำเดือน
เช่น อาการอารมณ์แปรเปลี่ยนง่าย ภาวะซึมเศร้า
ลดอาการเมื่อยล้าและเหนื่อยง่ายจากการทำงานหนัก
เสริมการทำงานของระบบประสาทส่วนปลาย

อารมณ์ปรวนแปร
ซึมเศร้า
อ่อนเพลียง่าย

อะเซโรลา เชอร์รี
กล้วย
มะม่วง

บี 12

2 ไมโครกรัม

ช่วยให้อารมณ์ดี
ป้องกันมิให้โลหิตจาง
บำรุงปลายประสาทในผู้ป่วยเบาหวานและคนปกติ

อารมณ์แปรปรวน
โรคโลหิตจาง
ปลายประสาทถูกทำลาย

พบมากในเนื้อสัตว์

กรดโฟลิก

200 ไมโครกรัม

สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง

โลหิตจาง

อะโวคาโด

วิตามินซี

60 มิลลิกรัม

เสริมสร้างเส้นใยคอลลาเจน
เสริมภูมิต้านทาน

เลือดออกตามไรฟัน
ผิวหนังหมองคล้ำ
เกิดริ้วรอย
เป็นหวัดง่าย

อะเซโรลา เชอร์รี
ฝรั่ง เสาวรส
สับปะรด
ผลมะม่วงหิมพานต์






http://www.healthdd.com/article/article_preview.php?id=42
http://www.nutrilite.co.th/nutrilite/healthinfo/9_2.jsp
http://www.nutrilite.co.th/nutrilite/healthinfo/9_3.jsp