วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551

โรคภูมิแพ้

ภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ หรือโรคแพ้ (Allergy) หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอาการไวผิดปกติต่อสิ่งซึ่งสามารถก่อให้เกิดภูมิแพ้ ( Allergen )
ซึ่งธรรมชาติสารเหล่านี้อาจไม่ก่อให้เกิดภูมิแพ้กับคนปกติทั่วไป โรคภูมิแพ้เกิดได้ทุกเพศทุกวัย เด็กอายุ 5 ถึง 15 ปี มักพบว่าเป็นบ่อยกว่าช่วงอายุอื่น ๆ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่โรคแสดงออกหลังจากได้รับ
สิ่งกระตุ้นมานานเพียงพอ อย่างไรก็บางคนอาจเริ่มเป็นโรคภูมิแพ้ตอนเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ได้ โรคภูมิแพ้นั้นมิใช่โรคติดต่อ แต่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากรุ่นคุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย คุณพ่อคุณแม่ มาสู่ลูกหลานได้
อาจพบว่าในครอบครัวนั้นมีสมาชิกป่วยเป็นโรคภูมิแพ้หลายคน ตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เรียกกว่า สารก่อภูมิแพ้ (Allergens) หรือ สิ่งกระตุ้น ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ การรับประทานอาหาร
การสัมผัสทางผิวหนัง ทางตา ทางหู ทางจมูก หรือโดยการฉีดหรือถูกกัดต่อยผ่านผิวหนัง ตัวการที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้มีอยู่รอบตัว สามารถกระตุ้นอวัยวะต่าง ๆ จนก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น

ทางลมหายใจ ถ้าสิ่งกระตุ้นผ่านเข้ามาทางลมหายใจ ตั้งแต่รูจมูกลงไปยังปอด ก็จะทำให้เป็นหวัด คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล คันคอ เจ็บคอ ไอ มีเสมหะ เสียงแหบแห้ง และลงไปยังหลอดลม ทำให้หลอดลมตีบตัน เป็นหอบหืด

ทางผิวหนั ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางผิวหนัง จะทำให้เกิดผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย ทางอาหาร ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางอาหาร จะทำให้ท้องเสีย อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด เสียไข่ขาวในเลือด อาจทำให้เกิดอาการทางระบบอื่น ๆ ได้ เช่น ลมพิษ หน้าตาบวม ทางตา ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางตา จะทำให้เกิดอาการแสบตา คันตา หนังตาบวม น้ำตาไหล

ทางอาหาร ถ้าสิ่งกระตุ้นเข้ามาทางอาหาร จะทำให้ท้องเสีย อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด เสียไข่ขาวในเลือด อาจทำให้เกิดอาการทางระบบอื่น ๆ ได้
เช่น ลมพิษ หน้าตาบวม

สารก่อภูมิแพ้ที่พบทั่ว ๆ ไป

สารก่อภูมิแพ้ซึ่งเป็น ตัวการของโรคภูมิแพ้ ที่มักพบบ่อย ๆ ได้แก่

ฝุ่นบ้าน ตัวไรฝุ่นบ้าน มักปะปนอยู่ในฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 มม. มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

เชื้อรา มักปะปนอยู่ในบรรยากาศ ตามห้องที่มีลักษณะอับชื้น

อาหารบางประเภท อาหารบางอย่างจะเป็นตัวการของโรคภูมิแพ้ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวก อาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา อาหารอีกจำพวกที่พบได้บ่อย คือ แมงดาทะเล ปลาหมึก อาจทำให้เกิดลมพิษผื่นคันได้บ่อย ๆ เด็กบางคนอาจแพ้ไข่แมงดาทะเลอย่างรุนแรง ซึ่งอาจทำให้มีอาการบวมตามตัว หายใจไม่ออกเป็นต้น อาหารประเภทหมักดอง เช่น ผักกาดดอง เต้าเจี้ยว น้ำปลา เป็นต้น เด็กบางคนอาจแพ้เห็ด ซึ่งจัดว่าเป็นราขนาดใหญ่ เด็กบางคนแพ้ไข่ขาว อาจทำให้เกิดอาการผื่นคันบนใบหน้าได้ บางคนอาจจะแพ้ผลไม้จำพวกที่มีรสเปรี้ยวจัด กลิ่นฉุนจัด เช่น ทุเรียน ลำไย สตรอเบอรี่ กล้วยหอม และอื่น ๆ

ยาแก้อักเสบ ยาที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อย ๆ นั้นได้แก่ ยาปฏิชีวะนะ พวกเพนนิซิลลิน เตตราไซคลิน นอกจากนั้นยังมีพวกซัลฟา ยาลดไข้แก้ปวดพวกแอสไพริน ไดไพโรน ยาระงับปวดข้อปวดกระดูก อาจทำให้เกิดลมพิษผื่นคันของผิวหน้า พวกเซรุ่มหรือวัคซีนเป็นกันโรค โดยเฉพาะวัคซีนสกัดจากเลือดม้า เช่น เซรุ่มต้านพิษงู แพ้พิษสุนัขบ้า เป็นต้น

แมลงต่าง ๆ แมลงที่มักอาศัยอยู่ภายในบ้าน เช่น แมลงสาบ แมงมุม มด ยุง ปลวก และแมลงที่อาศัยอยู่นอกบ้าน เช่น ผึ้ง แตน ต่อ มดนานาชนิด เป็นต้น

เกสรดอกหญ้า ดอกไม้ ดอกข้าว วัชพืช สิ่งเหล่านี้มักปลิวอยู่ในอากาศตามกระแสลม ซึ่งสามารถพัดลอยไปได้ไกล ๆ หรืออาจเป็นลักษณะขุย ๆ ติดตามมุ้งลวดหน้าต่าง
เกสรดอกหญ้า ที่ปลิวมาตามสายลม

ขนสัตว์ ขนของสัตว์เลี้ยงเป็นต้นเหตุของโรคภูมิแพ้ เช่น ขนแมว ขนสุนัข ขนนก ขนเป็ด ขนไก่ ขนกระต่าย ขนนกหรือขนเป็ด ขนไก่ที่ตากแห้งใช้
ยัดที่นอนและหมอน สำหรับนุ่น ฟองน้ำ ยางพารา ใยมะพร้าว เมื่อใช้ไปเป็นระยะเวลานานก็จะสามารถเป็นสารก่อภูมิแพ้ได้เช่นกัน




การป้องกันและลดอาการเกิดภูมิแพ้
1.
นอนหลับพักผ่อนให้เพีงพอ
2.
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3.
กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นมากๆ คือ โปรตีน วิตามินซี และบี
4.
ดูแลสุขภาพจิตใจให้ดีสม่ำเสมอ ไม่เครียด


อาหารเสริมกับโรคภูมิแพ้
ดูแลสุขภาพด้วยโปรตีนผง อย่าทานโปรตีนจากนมวัวอย่างเดียว หรือจากนมกระป๋อง อาจจะทำให้เกิดการแพ้ฮอร์โมนวัวได้
ควรทานจากโปรตีนทีสกัดจากถั่วเหลือง ซึ่งมีไอโซฟลาโวน ช่วยให้เรื่องการดูแลควบคุมฮอร์โมนให้อยู่ในระดับปกติ
วิตามินซีและบี ต้องสกัดจากธรรมชาติ ไม่ใช่สังเคราะห์มา เพราะอัตราการดูดซึมของร่างกายจะได้ดีกว่า และวิตามินซีและบี ช่วยทำงานร่วมกับโปรตีนทำให้การดูดซึมของร่างกายได้ดีมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

วิตามินอี

Vitamin E

ข้อมูลทั่วไป

  • วิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในร่างกาย ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้ มีชื่อทางเคมีว่า Tocopherol เป็นพวกแอลกอฮอล์ไม่อิ่มตัว มีอยู่ ในธรรมชาติ 7 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ -alpha,-beta,-delta,-epsilon,-osta,-gamma และ -zeta Alphatocopherol เป็นตัวที่สำคัญที่สุดเนื่องจากมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้ดี วิตามินอีเป็นวิตามินที่มีการค้นพบกันมานาน แต่วิตามินอีที่มีการศึกษาและพูดถึงกันมากคือ โทโคไตรอินอล (tocotrienols) ซึ่งเป็นวิตามินที่ได้จากน้ำมันปาล์ม และมีบทบาทสำคัญคล้าย โทโคฟีรอล ที่มีในน้ำมันพืชทั่วๆ ไป
  • คุณสมบัติ
    • วิตามินอีที่บริสุทธิ์จะมีสีเหลืองอ่อนค่อนข้างเหนียวเหมือนน้ำมัน สามารถละลายได้ในไขมันและตัวทำละลายไขมัน ทนความร้อนได้สูงถึง 200 องศาเซลเซียส ทนต่อกรด แต่ถูกทำลายได้ง่ายในด่าง แสงอัลตร้าไวโอเลต ออกซเดชั่น หรือในน้ำมันเหม็นหืน

ประโยชน์ต่อร่างกาย

  • วิตามินอีจะช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายจากสารอนุมูลอิสระ โดยไปขัดขวางปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของสารในร่างกาย โดยอาศัยคุณสมบติของมันเองที่เป็นตัวที่ไวต่อการถูกออกซิไดส์มาก จึงเป็นตัวที่ถูกออกซิไดส์เองแทนสารอื่นๆในร่างกายที่มีความไวต่อการถูกออกซิไดส์ได้น้อยกว่า ป้องกันไขมันไม่อิ่มตัวที่กินเข้าไปรวมกับออกซิเจนซึ่งจะก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ เป็นสารต้านไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว และยังขยายหลอดเลือดฝอยเล็กๆ ได้อีกด้วย ทำให้การไหลเวียนดีขึ้น ป้องการการเกาะตัวของเกร็ดเลือดที่ผนังหลอดเลือด จึงช่วยลดการอุดตันของคอเลสเตอรอล ทั้งตัวมันเองยังมีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอล ทำให้ร่างกายมีการนำพาออกซิเจนได้อย่างสะดวก ส่งผลให้ร่างกายใช้ออกซิเจนได้ดีขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อมีกำลังมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้มีการผลัดผิวหนังขึ้นมาใหม่ ช่วยเพิ่มการทำงานของอินซูลิน ทำให้ระบบประสาทดีขึ้นสามารถทำงานได้ตามปกติ ช่วยทำให้ระบบสืบพันธ์เป็นปกติ รักษาอาการเป็นหมันได้ ช่วยป้องกันการเกิดต้อกระจกได้ และยังเชื่อว่าทำลายฤทธิ์ของสารก่อมะเร็งได้ด้วย

แหล่งที่พบ

  • วิตามินอีพบมากใน น้ำมันพืช เช่นจากถั่วเหลือง ข้าวโพด และดอกคำฝอย น้ำมันจมูกข้าวสาลี น้ำมันตับปลา น้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดทานตะวัน นอกจากนั้นยังพบในผักใบเขียว และพบน้อยลงใน เนื้อ ปลา ผลไม้ เป็นต้น

ปริมาณที่แนะนำต่อวัน

  • โดยทั่วไปควรรับประทานป้องกันการขาดวิตามินอีวันล่ะ 100 IU (INTERNATIONAL UNIT โดย 1 IU เท่ากับ activity ของ 1 มิลิกรัมของ dl-alphatocopheryl acetate) โดยปริมาณที่แนะนำ ทารก อายุ 0 – 1 ปี ควรรับประทานวิตามินอี 4.47 – 5.96 IU เด็ก 1-3 ปี 7.4 IU 4 - 6 ปี 8.94 IU 7 – 9 ปี 10.43 IU เด็กผู้ชาย 10 – 12 ปี 11.92 IU 13 – 15 ปี 13.41 IU 16 – 19 ปี 14.9 IU เด็กผู้หญิง 10 – 19 ปี 11.92 IU ผู้ชาย 60 ปีขึ้นไป 14.9 IU ผู้หญิง อายุ 20 – 60 ปี 11.92 IU หญิงตั้งครรภ์ มากกว่า 2.98 IU ขึ้นไป หญิงให้นมบุตร มากกว่า 4.47 IU ขึ้นไป

ผลของการขาด

  • ยังไม่มีหลักฐานว่าคนที่มีสุขภาพปกติและมีการดูดซึมอาหารได้ดีจะมีภาวะขาดวิตามินอี นอกจากทารกที่คลอดก่อนกำหนด ที่จะเกิดภาวะโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกง่าย แต่อย่างไรก็ตามอาการที่ขาดวิตามินอีคือ ระบบการไหลเวียนของโลหิตจะผิดปกติ โดยเฉพาะปลายมือปลายเท้า อาจส่งผลต่อระบบหัวใจโดยส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง มีการแตกของเม็ดเลือดแดงได้ง่าย อายุของเม็ดเลือดลดลง การดูดซึมเหล็กลดลง และอาจจะเป็นสาเหตุทำให้ตับและไตถูกทำลายได้

ผลของการได้รับมากไป

  • พบว่าถ้าได้รับวิตามินอีวันล่ะ 300 มิลลิกรัมเป็นเวลาหลายเดือนจะส่งผลให้ปวดท้อง คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ซึม สายตามัว ถ้ามากกว่า 2000 มิลลิกรัมขึ้นไปเป็นเวลา 3 เดือน จะเกิดอาการมุมปากและริมฝีปากอักเสบ กล้ามเนื้อไม่มีกำลังได้ ในคนปกติไม่ควรเสริมวิตามินอี เพราะไม่มีหลักฐานแสดงถึงประโยชน์ และในแต่ละวันการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ก็จะได้รับวิตามินอีเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

การดูดซึม

  • จะถูกดูดซึมที่ลำไส้ เข้าไปในระบบน้ำเหลือง ต่อไปสู่กระแสเลือดในรูปของไคโลไมคอล พบว่าการดูดซึมวิตามินอีต่ำๆ จะมีประสิทธิภาพดีกว่าวิตามินอีปริมาณสูงๆ และส่งต่อไปเก็บสะสมที่ตับ นอกจากนี้ยังพบอยู่ตาม เนื้อเยื่อไขมัน หัวใจ ปอด และอยู่ในชั้นผิวหนังของอวัยวะนั้นๆ มีการสะสมได้เป็นเวลานาน มีการขับออกทางอุจจาระโดยผ่านที่ตับ ส่วนเมตาบอไลต์จะออกทางปัสสาวะ

สารหรืออาหารเสริมฤทธิ์

  • วิตามินเอ วิตามินบีรวม วิตามินบี 1 INOSITOL วิตามินซี แมงกานีส เซเลเนียม

สารหรืออาหารต้านฤทธิ์

  • มลภาวะทางอาหาร คลอรีน ยาปฏิชีวนะ เหล็ก ที่อยู่ในรูป ferric iron น้ำแร่ ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน ฮอร์โมนเอสโทรเจน

การเสื่อมสลาย

  • การปรุงโดยใช้ความร้อนสูง หรือถูกแสงแดด การขัดสี การบดเพื่อทำแป้ง และการกลั่นน้ำมันพืช รวมทั้งการแปรรูปที่มีความสลับซับซ้อน จะทำให้สูญเสียวิตามินอีได้

http://www.sportronfamily.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=573615&Ntype=42

วิตามินพี หรือ ไบโอฟลาโวนอยด์

Vitamin P / Bioflavonoids

วิตามินพี หรือที่รู้จักกันในชื่อ Bioflavonoids จัดเป็นวิตามินที่ละลายด้ในน้ำ ประกอบด้วยสารที่มีสีสดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งพบมากในผลไม้และผักโดยเฉพาะผลไม้รสเปรี้ยว จะเห็คู่กับวิตามินซี เสมอ แต่จะไม่พบในวิตามินที่สังเคราะห์ขึ้นมาประโยชน์ของวิตามินพีจะช่วยในเรื่องการดูดซึมวิตามินซี ทำให้การทำงานของวิตามินซีมีประสิทธิภาพดีขึ้น อาการขาดวิตามินพีจะคล้ายกับอาการขาดวิตามินซี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของอาการที่มีเลือดออก เช่นเลือดออกตามไรฟัน เพื่อให้วิตามินมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดี ควรรับประทานควบคู่กับวิตามินซี เพื่อจะได้ช่วยส่งเสรมการทำงานของวิตามินทั้งสอง เพื่อก่อให้เกิดประสิทะภาพสูงสุด

ข้อมูลทั่วไป

  • วิตามินพีเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ระยะหลังจะมีการเรียกชื่อวิตามินพี ว่าเป็น Bioflavanoid ซึ่งจะเห็นร่วมกับวิตามินซี เสมอ แต่ในวิตามินซีสังเคราะห์จะไม่เจอวิตามินพี

ประโยชน์ต่อร่างกาย

  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของวิตามินซี และช่วยเพิ่มการดูดซึมวิตามินซี ช่วยให้ผนังหลอดเลือดฝอยแข็งแรง ลดการอักเสบ ลดการมีไข้ รวมทั้งช่วยช่วยป้องกันเลือดออกเช่นที่เหงือก

แหล่งที่พบ

  • มะนาว ส้มโอ ลูกพลับ องุ่น แอพริคอท ข้าวสาลีกล้อง เชอรี่ พริกหวาน มะเขือเทศ มะละกอ บรอคโคลี่ แคนตาลูป โดยเฉพาะแก่นสีขาวตรงกลางของผลไม้รสเปรี้ยว ดังที่กล่าวมาข้างต้น

ผลของการขาด

  • จะมีอาการคล้ายขาดวิตามินซี พบเลือดออกง่าย มีรอยจ้ำดำใต้ผิวหนัง เนื่องจากเส้นหลอดเลือดฝอยแตกง่าย

ข้อมูลอื่นๆ

  • การดูดซึม
    • การดูดซึมจะเริ่มตั้งแต่กระเพาะจนถึงลำไส้ และเข้าสู่กระแสโลหิตทันที ส่วนที่เหลือ หรือส่วนเกิน จะถูกขับออกทางเหงื่อและปัสสาวะ
  • สารหรืออาหารเสริมฤทธิ์
    • วิตามินรวม เกลือแร่ แคลเซียมและแมกนีเซียม หรือสารที่ส่งเสริมการใช้วิตามินซี ซึ่งจะทำให้มีผลดีต่อวิตามินพีด้วย รวมทั้งวิตามินซี
  • อาหารหรือสารที่ต้านฤทธิ์
    • สุรา บุหรี่ แอสไพริน โซดาสำหรับทำขนม ฮอร์โมน เอสโทรเจน ซัลฟาโฟนาไมค์ ยาพวกคอร์ติโซน เป็นต้น




http://www.sportronfamily.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=573620&Ntype=42

15 นาทีเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

Health & Exercise
  • ดื่มน้ำ 1 นาที ตอนตื่นนอน เมื่อตื่นนอนแล้วควรดื่มน้ำ1-2 แก้ว เพื่อกระตุ้นการทำงานของอวัยวะ และระบบขับถ่าย ทำให้รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าขึ้น หากกลัวลืมให้วางขวดและแก้วน้ำไว้ที่หัวเตียงก่อนนอน เพื่อที่จะดื่มได้ทันทีที่ตื่นขึ้น
  • หัวเราะ 15 นาที ก่อนอาหารเย็น ผลัดกันเล่าเรื่องตลกกับคนในครอบครัวคนละ 1 เรื่องทุกวัน และหัวเราะเต็มเสียงให้ลมผ่านปาก ลำคอ ปอด กระเพาะ ลำไส้ใหญ่ - เล็ก จนรู้สึกว่าอวัยวะทุกส่วนเคลื่อนไหว หรือจนรู้สึกเกร็งหน้าท้อง เพื่อให้ร่างกายได้ออกซิเจนมากขึ้น ฟอกปอด ป้องกันการเวียนหัว อ่อนเพลีย แถมยังเพิ่มความผูกพันในครอบครัวให้แน่นแฟ้นขึ้นด้วย
  • เดินเพิ่มขึ้น 15 นาที ก่อนเริ่มงาน เปลี่ยนจากใช้ลิฟท์เป็นเดินขึ้น-ลงบันไดแทน หรือขยับไปจอดรถไกลขึ้นอีกหน่อย เพื่อให้เดินไกลขึ้น โดยเดินให้เร็วขึ้นกว่าปกติ และเพิ่มระยะทางการเดินขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน หากมีเวลาอาจไปเดินเล่นในสวนสาธารณะ นอกจากได้ออกกำลังกายแล้ว ยังได้รับอากาศบริสุทธิ์ด้วย วิธีนี้เหมาะสำหรับคนทำงานที่ต้องนั่งโต๊ะทั้งวันจะช่วยให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวและออกแรงบ้าง
  • กะพริบตาทุก 15 นาที เมื่ออยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ กะพริบตาเพิ่มขึ้น 1-2 ครั้ง ทุก 15 นาที และเมื่อเลิกใช้คอมพิวเตอร์ให้กระพริบตาถี่ๆ เพื่อให้แก้วตาสะอาดและมีน้ำหล่อเลี้ยงมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่ใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ยิ่งจำเป็นเพราะจะช่วยให้ตาไม่แห้งเกินไป
  • ล้างมือ 1 นาที ก่อนเข้าห้องน้ำ มีงานวิจัยพบว่าคนเข้าห้องน้ำโดยไม่ล้างมือมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกมากว่าคนที่ล้างมือก่อนเข้าห้องน้ำ แม้ยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน แต่การล้างมือก่อนเข้าห้องน้ำก็ช่วยให้มือคุณสะอาดจากเชื้อโรคหากต้องสัมผัสกับจุดซ่อนเร้นและไม่ก่อโรคให้ตัวเองแบบไม่ตั้งใจ ที่สำคัญออกจากห้องน้ำแล้วอย่าลืมล้างมืออีกครั้ง
  • หยุดกิน 5 นาที ก่อนอิ่มจริง ทุกครั้งเวลากินอาหารมื้อหลัก ให้หยุดกินก่อนอิ่มจริง 5 นาที และควรกินอาหารแค่เกือบอิ่มเท่านั้น กระเพาะอาหารจะได้ไม่ทำงานหนักเกินไป
  • ทำความสะอาดฟัน 10 นาที หลังอาหาร สุขภาพฟันสำคัญมากกว่าที่คิด ดังนั้นควรทำความสะอาดฟันทุกครั้งหลังกินอาหาร โดยเตรียมอุปกรณ์ติดไว้ที่ทำงานเสมอ เช่นแปรงสีฟัน ไหมขัดฟัน หากไม่สะดวกแค่บ้วนปากก็ยังดี

ดื่มน้ำ 1 นาที หลังอาหาร 1 ชั่วโมง หากทำงานในห้องแอร์ ควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 6 -8 แก้ว เพราะอากาศแห้งร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่าย ทำให้ผิวแห้งไม่สดใส เป็นตะคริวและรู้สึกอ่อนเพลีย โดยดื่มชั่วโมงละ 1 แก้ว แต่ไม่ควรดื่มน้ำมากๆ ก่อนและหลังมื้ออาหารทันที เพราะน้ำจะไปลดประสิทธิภาพของระบบย่อยอาหาร ควรดื่มน้ำ

  • หลังมื้ออาหารไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำย่อยทำงานได้อย่างเต็มที่ และถ้าระหว่างกินอาหารรู้สึกอยากดื่มน้ำ ให้เปลี่ยนเป็นจิบน้ำแทน
  • เดินเล่น 5 นาทีระหว่างรดน้ำต้นไม้ ช่วงเวลาเช้า - เย็นที่แดดไม่จัดเกินไป อย่าลืมออกไปรดน้ำต้นไม้เพื่อรับวิตามินดีจากแสงแดด และออกกำลังกายโดยเดินเท้าเปล่าให้เท้าสัมผัสกับสนามหญ้า และละอองน้ำด้วย จะยิ่งรู้สึกสดชื่นขึ้น ทั้งยังช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสและการทรงตัวของฝ่าเท้าอีกด้วย
  • นอนสมาธิ 10 นาที ก่อนนอน เมื่อกำลังจะเข้านอนทุกคืนให้สวดมนต์และนอนหลับตาทำสมาธิไปเรื่อยๆ สัก 10 นาที หรือจนกว่าจะหลับโดยนอนหงายวางมือบนท้อง กำหนดความรู้สึกไว้ที่การกระเพื่อมขึ้นลงของหน้าท้อง จิตใจจะสงบช่วยให้หลับสบาย และหลับได้ลึกขึ้น

Organize time

  • วางแผน Weekly Planning ทุกคืนวันอาทิตย์ ในแต่ละสัปดาห์ จัดลำดับความสำคัญของงานว่าอะไรที่ต้องทำก่อนหลัง นอกจากจะช่วยให้ชีวิตเป็นระบบมากขึ้น ยังทำให้การทำงานง่ายขึ้น ผลพลอยได้คือคุณมีเวลาเหลือพอที่จะทำกิจกรรมอื่นๆ ได้อีกด้วย
  • นัดหมายงานทุกวันจันทร์ 9.00 . หากต้องนัดเจรจาธุรกิจควรนัดวันนี้เวลา 9.00 -10.00. เพราะหลังอาหารเช้า 1-2 ชั่วโมง สมองของคุณกำลังได้รับอาหารอย่างเต็มที่ แถมยังได้คิดงานมาคร่าวๆ แล้วในช่วงสุดสัปดาห์ จึงมีทั้งกำลังสมองและแผนการดีกว่าวันอื่นๆ ที่สำคัญการนัดหมายในวันเริ่มต้นสัปดาห์จะช่วยให้คุณมีเวลาทำงานนานขึ้นด้วย
  • ดินเนอร์มื้อเย็นวันพุธ และพฤหัสบดี เมื่อต้องออกไปคุยงานต่อตอนเย็นหรือมีนัดดินเนอร์ควรเลือกวันพุธหรือพฤหัสบดี เพราะช่วงวันกลางสัปดาห์ร้านอาหารมักว่าง คุยงานสะดวกขึ้น แล้วถ้าคุณอยากไปเที่ยวต่อคนก็ไม่เยอะเกินไปด้วย
  • จดรายการสินค้า 5 นาที ก่อนไปจ่ายตลาด จดรายการสินค้าที่ต้องการ เพื่อไม่ให้หลงลืมรายการใดๆ และกำหนดว่าต้องมีผัก ผลไม้ตามฤดูกาลที่มีในท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป
  • ออกกำลัง 17.00. เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายตื่นตัวเต็มที่ คุณจึงรู้สึกสนุกและมีแรงเป็นพิเศษ การออกกำลังแค่วันละ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมงเท่านั้น จะทำให้ร่างกายไม่ตื่นตัวเกินไปและหลับสบายด้วย
  • อย่านอนตื่นสายในวันเสาร์ -อาทิตย์ หากคุณรู้สึกไม่อยากลุกจากเตียงในวันเสาร์แล้วนอนยาวไปเรื่อยๆ จะทำให้ไม่อยากลุกจากที่นอนในวันอาทิตย์และส่งผลยาวมาถึงวันจันทร์ด้วย ดังนั้นอย่ามัวแต่นอนบิดขี้เกียจอยู่เลย ลุกขึ้นมาทำเช้าวันเสาร์ - อาทิตย์ให้สดใสกันดีกว่า




http://www.tlcthai.com/club/view_topic.php?type=content&club=park&club_id=1192&table_id=1&cate_id=-1&post_id=8671

วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2551

คุณประโยชน์ของกระเทียม


กระเทียม ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์

ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum Linn.
ชื่อวงศ์ Alliaceae
ชื่ออังกฤษ Garlic
ชื่อท้องถิ่น เทียม, หอมเทียม, หัวเทียม

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์

1. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
สารสกัดกระเทียมด้วยแอลกอฮอล์ 95% มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้กระต่าย (1, 2)

2. ฤทธิ์ขับน้ำดี
กระเทียมเมื่อรับประทานเข้าไป จะไปเพิ่มน้ำย่อยและน้ำดี

3. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุอาการแน่นจุกเสียด
มีรายงานว่ากระเทียมออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของอาการแน่นจุกเสียด เช่น E. coli, Shigella เป็นต้น โดยสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ allicin

4. ฤทธิ์ลดการอักเสบ
กระเทียมสามารถช่วยบรรเทาอาการอักเสบ จึงช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร อันจะเป็นผลช่วยลดการแน่นจุกเสียด ในผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ โดยต้านการสังเคราะห์ prostaglandin

5. การทดลองทางคลินิก ใช้รักษาอาการแน่นจุกเสียด
ทางอินเดียทดลองให้สารสกัดกระเทียมด้วยบิวธานอลกับคนไข้ 30 คน ที่มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ พบว่าระงับอาการปวดท้องและขับลม
มีรายงานผลการทดลองในคนไข้ 29 ราย เมื่อได้รับยาเม็ดกระเทียมในขนาด 0.64 กรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารกลางวันและเย็น เป็นเวลา 2 สัปดาห์ สามารถขับลมและลดอาการจุกเสียด คลื่นไส้หลังอาหาร พบว่าใช้ได้ดีทั้งอาการจุกเสียดแบบธรรมดา และเนื่องจากอาการทางประสาท จากการถ่าย X-ray พบว่าสามารถเพิ่มการบีบตัวแบบขับเคลื่อนของกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก ทำให้ลมกระจายตัว ผู้วิจัยเรียกสารออกฤทธิ์นี้ว่า gastroenteric allechalcone

6. ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ
กระเทียมสามารถป้องกันตับอักเสบเนื่องจาก carbon tetrachloride , dimethylhydrazine , galactosamine สารสำคัญในการออกฤทธิ์คือ S-propyl cysteine , S-allyl mercaptocysteine , S-methyl-mercaptocysteine , ajoene , diallyl sulfide

7. ฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
มีผู้ทดลองฤทธิ์ต้านเชื้อราของกระเทียมมากมาย พบว่าสารสกัดด้วยน้ำและน้ำมันหอมระเหย สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา อันเป็นสาเหตุของโรคกลาก คือ Trichophyton , Epidermophyton และ Microsporum ได้ดี

8. สารสำคัญในการออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
สารสำคัญเป็นสารที่ไม่คงตัว พบได้น้อยในพืชในรูปของ alliin เมื่อเซลลูโลสพืชถูกทำลาย alliin ถูกเปลี่ยนเป็น allicin ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ และ allicin ที่อุณหภูมิต่ำๆ จะเปลี่ยนเป็น ajoene ซึ่งยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา เช่นเดียวกับ allicin

9. การทดสอบความเป็นพิษ
9.1 ให้หนูกินสารสกัดกระเทียมด้วยอีเธอร์ขนาด 2-4 กรัม ทุกวัน เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ไม่พบว่ามีพิษต่อตับ หัวใจ ไต ต่อมหมวกไต ม้าม ไทรอยด์

9.2 เมื่อป้อนสารสกัดกระเทียมด้วยแอลกอฮอล์ 95% แก่หนูขาว ซึ่งขาดน้ำดี ไม่พบพิษ

9.3 ฉีดสารสกัดสีขาวไม่มีกลิ่น ละลายน้ำ พบว่ามีฤทธิ์ลดปริมาณแคลเซียม หนูมีอาการกระวนกระวาย เดินไม่ตรง เคลื่อนไหวช้า และเกิดอาการโคม่า ปริมาณที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่ง คือ 222 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดกระต่าย โดยค่อยๆ เพิ่มขนาด ทำให้กระต่ายตายในขนาด 100-200 มิลลิกรัม% น้ำมันหอมระเหยขนาด 0.755 ซี.ซี./ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทำให้เกิดอาการงง

9.4 สารสกัดกระเทียมด้วยน้ำ, แอลกอฮอล์ หรืออะซิโตน ทำให้เกิดอาการแพ้ในคน

9.5 Uemori ได้ทดลองให้สารสกัดแอลกอฮอล์ขนาด 0.755 มิลลิกรัม แก่กระต่ายทางหลอดเลือด พบว่าทำให้เกิดอาการกระตุ้นการหายใจตอนแรก ต่อมาเกิดอาการกดระบบหายใจ และระบบหายใจล้มเหลวในที่สุด เมื่อทดลองให้สารสกัดนี้กับหัวใจกบที่ตัดแยกจากตัว พบว่าจะลดการบีบตัวของหัวใจ และหยุดในที่สุด แต่อาการพิษจะกำจัดได้โดยการล้างหัวใจ Caffeine จะช่วยลดอาการพิษได้บางส่วน Adrenaline ไม่ได้ผล แต่เมื่อใช้ atropine จะยับยั้งพิษได้สมบูรณ์ ถ้าใช้ในขนาดน้อยๆจะทำให้หลอดอาหารกระต่ายที่ตัดแยกจากตัวลดการบีบตัว เมื่อฉีดสารสกัดเข้าหลอดเลือดกระต่าย จะพบอาการต่างๆ ดังนี้ ขนาด 10 มิลลิลิตร ทำให้หัวใจเต้นแรง ขนาด 4 มิลลิลิตร เกิดอาการความดันโลหิตลดลงชั่วคราว และขนาด 8 มิลลิลิตร มีฤทธิ์เพิ่มความดันโลหิตและฤทธิ์อยู่ได้นาน

10. ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
เมื่อทดลองฤทธิ์การก่อกลายพันธุ์ของเซลล์ไขกระดูก โดยใช้กระเทียมสด ในขนาด 1.25, 2.5, 5.0 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ น้ำคั้นกระเทียมสด และสารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ มีผลลดจำนวน micronucleated cell ของเซลล์ไขกระดูก และ polychromatocytes ในหนูและ Chinese hamster

11. ต้านการก่อกลายพันธุ์
สารสกัดน้ำกระเทียมทำให้เกิดการสูญเสียของ chromatin จากสายใยของ cell nuclei และต้านการก่อกลายพันธุ์ซึ่งเกิดจาก cumol hydroperoxide, ter-butyl hydroperoxide, hydrogen peroxide และ gamma-irradiation แต่ไม่สามารถต้านฤทธิ์ของ antibiotic, NaN3, 2-nitrofluorene, 1,2-epoxy-3,3,3-trichloropropane หรือ Alpha-methyl hydronitrosoguoamidine ดังนั้นสารสกัดน้ำด้วยกระเทียม มีผลต่อต้านการก่อกลายพันธุ์จากปัจจัยซึ่งเป็นปฎิกริยาทางรังสี มากกว่าต้านการทำลายของ DNA นอกจากนี้การทดลองการต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ของกระเทียม ด้วยสารสกัดต่างๆ ให้ผลดังนี้ สารสกัดกระเทียมด้วยน้ำ ให้ผลต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ใน E. coli สารสกัดกระเทียมด้วยอะซิโตน ให้ผลต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ใน Salmonella typhimurium strain TA89, TA100 ที่เกิดจาก aflatoxin B1 สารสกัดสามารถลดการก่อกลายพันธุ์ได้ 73-93% กระเทียมดิบบด ต้านการก่อกลายพันธุ์ของ 4-metroquinoline-1-oxide แต่ไม่เกิดปฎิกริยาการก่อกลายพันธุ์ของ UV-irradiation

การใช้กระเทียมรักษาอาการแน่นจุกเสียด
1.
นำกระเทียม 5-7 กลีบ บดให้ละเอียด เติมน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ เกลือและน้ำตาลนิดหน่อย ผสมให้เข้ากัน กรองเอาน้ำดื่ม

2. นำกระเทียมปอกเปลือก นำเฉพาะเนื้อใน 5 กลีบ ซอยให้ละเอียด รับประทานกับน้ำหลังอาหารทุกมื้อ แก้ปวดท้องอาหารไม่ย่อย

การใช้กระเทียมรักษากลาก เกลื้อน

1. นำกระเทียมมาขูดให้เป็นชิ้นเล็กๆ หรือบดให้แหลก พอกที่ผิวหนัง แล้วปิดด้วยผ้าพันแผลไว้นานอย่างน้อย 20 นาที จึงแก้ออก แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ทำซ้ำเช้าเย็นเป็นประจำทุกวัน

2. นำใบมีดมาขูดผิวหนังส่วนที่เป็นเกลื้อนให้พอเลือดซึม แล้วใช้กระเทียมทาลงไป ทำเช่นนี้ทุกวัน 10 วันก็จะหาย



http://www.thaifitway.com/education/ndata/n2db/question.asp?QID=25

แคลเซียม กับโรคกระดูกพรุน

แคลเซียม กับโรคกระดูกพรุน

กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

http://advisor.anamai.moph.go.th/healthteen/health14.html

แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่สำคัญ ซึ่งร่างกายของคนเราใช้ในการ สร้างกระดูกและฟัน ทำให้กระดูกมีความแข็งแกร่ง นอกจากนี้แคลเซียมยังควบคุม การทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น การหดตัวของกล้ามเนื้อ การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของเลือด เมื่อมีบาดแผล การทำงานของระบบประสาท เป็นต้น

แคลเซียม กับการเกิดโรคกระดูกพรุน หากได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมอยู่ในกระดูก ออกมาใช้ เมื่อเกิดขึ้นเป็นประจำ แคลเซียมในกระดูกจะถูกดึงออกมามาก จนกระทั่งกระดูกพรุน เปราะ ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง จึงแตกหักได้ง่าย แม้ว่าได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาการเหล่านี้ เป็นอาการของ "โรคกระดูกพรุน" และถ้าได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ตั้งแต่เด็ก โอกาสที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนก็มีเพิ่มขึ้น

ในระยะเริ่มแรก โรคนี้จะไม่แสดงอาการ จนกระทั่งมีความรุนแรงมากขึ้น จึงแสดงอาการออกมา เช่น มีอาการปวดหลังเรื้อรัง หลังค่อมจากการยุบตัวลงของกระดูกสันหลัง หรือกระดูกสะโพกหัก ทำให้เดินไม่ได้เหมือนเดิม และถ้าเกิดภาวะแทรกซ้อน อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

ความต้องการของแคลเซียม
ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการ จะเปลี่ยนแปลงตามวัย และสภาวะต่างๆ ของร่างกาย

ทารก เด็ก และวัยรุ่น
เป็นช่วงที่มีการสร้างกระดูกมากที่สุด ทำให้มวลกระดูกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น จึงเป็นช่วงสำคัญ ในการสะสมมวลกระดูก สำหรับการเจริญเติบโต และเพิ่มมวลกระดูกให้มีปริมาณสูงสุด

วัยหนุ่มสาว
ในช่วงอายุ 19-30 ปี ยังมีการสะสมมวลกระดูกอีกเล็กน้อย จึงจะถึงปริมาณสูงสุด

วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ
เป็นช่วงที่มีการดึงแคลเซียมออกจากกระดูกเพิ่มขึ้น ทำให้มวลกระดูกลดลง โดยเฉพาะผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ในช่วง 5 ปีแรก มวลกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว

หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมลูก
เนื่องจากในขณะตั้งครรภ์ หรือให้นมลูก ร่างกายมีการปรับตัวโดยการดูดซึมแคลเซียม ที่ลำไส้เล็กเพิ่มขึ้น และดึงแคลเซียมออกจากกระดูกน้อยลง ดังนั้น ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำในกลุ่มนี้ จึงเท่ากับก่อนตั้งครรภ์ แต่เนื่องจากหญิงก่อนตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ มักจะบริโภคแคลเซียม ในปริมาณน้อยกว่าที่แนะนำ ดังนั้น ในระยะตั้งครรภ์ และให้นมลูก จึงต้องบริโภคอาหารที่มีอคลเซียมเพิ่มขึ้น ให้เพียงพอตามที่แนะนำ เพื่อการสร้างกระดูกของทารกในครรภ์ ซึ่งจะส่งผลให้มีพัฒนาการ และการเจริญเติบโตที่ดี

ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้คนไทยบริโภค
กลุ่ม กลุ่มอายุ ปริมาณแคลเซียม (มิลลิกรัม)
ทารก 0-6 เดือน 210
7-12 เดือน 270

เด็ก 1-3 ปี 500
4-8 ปี 800

วัยรุ่น 9-18 ปี 1,000

ผู้ใหญ่ 19-50 ปี 800
>50 ปี 1,000

หญิงตั้งครรภ์ 19-50 ปี 800

หญิงให้นมลูก 19-50 ปี 800
"หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมลูกที่เป็นวัยรุ่น ควรบริโภคแคลเซียม ตามปริมาณที่แนะนำในช่วงวัยรุ่น"
"คนที่มีการสะสมมวลกระดูกมาก ตั้งแต่วัยเด็ก ถึงวัยหนุ่มสาว เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน และวัยชรา จะยังมีมวลกระดูกเหลืออยู่ มากกว่าคนที่มีการสะสมมวลกระดูกน้อย และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนในวัยสูงอายุ"

การเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก

การบริโภคแคลเซียมให้เพียงพอในทุกช่วงวัย มีความจำเป็นอย่างยิ่ง และสามารถปฏิบัติได้ง่าย โดยการดื่มนม และบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมปานกลาง และสูงทุกวัน การบริโภคแคลเซียมจากอาหาร นอกจากจะได้รับแคลเซียมแล้ว ยังได้รับสารอาหารอื่นๆ ที่มีความจำเป็น สำหรับการสร้างกระดูกอีกด้วย และถ้าได้รับแคลเซียมเพียงพอ ร่วมกันการ ได้รับแสงแดด และการออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงสารเสพติด จะช่วยเสริมสร้างร่างกาย รวมทั้งกระดูกให้มีสุขภาพดียิ่งขึ้น

แหล่งอาหารแคลเซียม

แคลเซียม ช่วยในการสร้างกระดูกและฟัน

นมและผลิตภัณฑ์นม
เป็นแหล่งของแคลเซียมที่ดี เนื่องจากนมมีปริมาณแคลเซียมสูง และร่างกายนำไปใช้ได้มาก เด็กและวัยรุ่นควรดื่มนมวันละ 2-3 แก้ว ส่วนผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ควรดื่มวันละ 1-2 แก้ว
ปลา และสัตว์เล็กอื่นๆ ที่สามารถกินได้ทั้งกระดูก หรือเปลือก
เป็นแหล่งของแคลเซียมที่ดี เช่น ปลาซิว ปลาเกล็ดขาว ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีนกระป๋อง กบ เขียด กิ้งก่า แย้ กุ้งฝอย กุ้งแห้ง เป็นต้น
ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไต ควรระวังการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มจัด หรือมีการหมักด้วยเกลือในปริมาณมาก เพราะจะทำให้ความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้น
ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์
เป็นแหล่งของแคลเซียมที่ดี เช่น เต้าหู้อ่อน (ไม่ใช่เต้าหู้หลอดไข่) เต้าหู้แข็ง เต้าฮวย เป็นต้น
น้ำเต้าหู้ มีปริมาณแคลเซียมไม่มาก จึงไม่ใช่แหล่งแคลเซียมที่ดี แต่น้ำเต้าหู้ก็มีสารอาหารอื่นที่มีประโยชน์ เช่น โปรตีน เป็นต้น
ผักใบเขียว
ผักที่มีแคลเซียมสูง และร่างกายนำไปใช้ได้มาก เช่น ผักกาดเขียว ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า เป็นต้น
ผักบางชนิด แม้ว่าจะมีแคลเซียมสูง แต่ร่างกายนำไปใช้ได้น้อย เพราะมีปริมาณสารไฟเตต และออกซาเลทสูง เช่น ใบชะพลู ผักโขม ปวยเล้ง เป็นต้น จึงควรกินในปริมาณที่พอควร

ตัวอย่างปริมาณแคลเซียมในอาหาร
อาหาร ปริมาณอาหารที่บริโภค ปริมาณแคลเซียม (มิลลิกรัม)
นมจืด 1 กล่อง (200 มิลลิลิตร) 226
นมพร่องมันเนย 1 กล่อง (200 มิลลิลิตร) 246
โยเกร์ต, รสต่างๆ, เฉลี่ย 1 กล่อง (150 กรัม) 160
นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม, รสต่างๆ, เฉลี่ย 1 กล่อง (180 มิลลิลิตร) 106
ปลาตัวเล็ก 2 ช้อนกินข้าว 226
ปลาซาร์ดีนกระป๋อง 4 ช้อนกินข้าว 198
กุ้งฝอย, ดิบ 1 ช้อนกินข้าว 134
กุ้งแห้ง 1 ช้อนกินข้าว 138
กิ้งก่า. ย่าง 1 ตัวกลาง 177
เต้าหู้อ่อน 5 ช้อนกินข้าว 150
เต้าหู้แข็ง 2 ช้อนกินข้าว 32
ผักคะน้า, ผัด 1 ทัพพี 71
ผักกาดเขียว, ต้ม 1 ทัพพี 96
ผักกวางตุ้ง, ต้ม 1 ทัพพี 60
ผักกาดขาว, ต้ม 1 ทัพพี 49
ใบยอ, นึ่ง ½ ทัพพี 87
ใบกระเพรา, ผัด 3 ช้อนกินข้าว 61